ประโยชน์ของฟังก์ชั่น Remote Teach ที่หลายๆคนมองข้าม

ประโยชน์ของฟังก์ชั่น Remote Teach ที่หลายๆคนมองข้าม

6 มีนาคม 2567

เขียนโดย : ชาญชัย เรียนแจ้ง
Product manager


สวัสดีครับทุกท่าน ประโยชน์ของฟังก์ชั่น Remote Teach ที่หลายๆคนมองข้าม การใช้ “Remote Teach ” ที่อยู่ใน Datasheet หรือ Wiring Diagram ของสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม sensor



รูปตัวอย่าง Remote Teach  ใน sensor รุ่น Q5X series ของยี่ห้อ BANNER



รูปตัวอย่าง Remote Teach  ใน sensor รุ่น  BGS-HDL Series ของ OPTEX



หลักการคืออย่างไร
เซนเซอร์ที่มีฟังก์ชั่นนี้ มักจะเป็นเซนเซอร์ที่ต้องมีการตั้งค่าทั้งสิ้น เช่น ตั้งค่าระยะการตรวจจับ, ตั้งค่าสถานะ output เป็นต้น 
เราสามารถกดปุ่มตั้งค่าบนตัวเซนเซอร์ได้เลย แต่การมี Remote Teach ช่วยทำให้เราไม่ต้องกดปุ่มที่ตัวอุปกรณ์ แต่สามารถต่อสายไฟให้มีสัญญาณเข้ามา เพื่อตั้งค่าแทนได้ วิธีการการต่อไฟในรุ่นต่างๆจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับรุ่นของเซนเซอร์ที่เลือกใช้

 มีประโยชน์อย่างไร
- เซนเซอร์ที่มีความละเอียดสูง การกดปุ่มบนที่ตัวเซนเซอร์ น้ำหนักที่กดลงบนอุปกรณ์จะทำให้ตำแหน่งคาดเคลื่อนได้
- ตำแหน่งของเซนเซอร์ที่ติดตั้งหน้างานอยู่ในจุดที่ยากต่อการเข้าถึง การเดินสายไฟที่เป็น Remote Teach Input มาใช้ ทำให้สะดวกกับผู้ใช้งาน

ตัวอย่างการใช้งาน "Remote teach"
ณ โรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เซนเซอร์ถูกติดตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 ผู้ใช้งานอยู่ชั้นที่ 1 ลูกค้าต้องการเซนเซอร์ที่ปรับตั้งระยะ on-off ใหม่ทุกครั้งหลัง
 จากแม่พิมพ์เคลื่อนที่ขึ้น-ลง เมื่อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วให้มี output ออกมา ซึ่งจะต้องเดินขึ้นไปชั้น 2 ทุกครั้ง ทำให้เสียเวลา  จึงเลือกใช้  Q5XKLAF2000-Q8  ซึ่งมีฟังก์ชั่น Remote teach  เพื่อตั้งค่าจากชั้น 1 ได้เลย โดยเพิ่มปุ่มกด Push Button Switch (กดติด-ปล่อยดับ) เข้าไปขั้นระหว่างสายสีขาว กับแหล่งจ่ายไฟ แล้วต่อวงจรตามรูป





ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0