นิยามใหม่ของหน่วยวัดพื้นฐานในระบบเอสไอ (SI)

นิยามใหม่ของหน่วยวัดพื้นฐานในระบบเอสไอ (SI)

23 กรกฎาคม 2562

เขียนโดย : Product Manager CALIBRATION


สวัสดีครับทุกคน อย่างที่ทราบกันระบบของหน่วยวัด (International System of Unit หรือ SI) ประกอบด้วยหน่วยพื้นฐาน 7 หน่วย อันได้แก่ เวลา (S), ความยาว (m) , มวล (kg), กระแสไฟฟ้า (A) , อุณหภูมิ (K) , ความเข้มของการส่งสว่าง (cd) และปริมาณของสสาร (mol)


ซึ่งนิยามของหน่วยฐานมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับตามการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ทำให้สามารถออกแบบและสร้างการทดลองที่แสดงพฤติกรรมที่คงที่เหมาะสมกับการนำมาใช้นิยามหน่วยฐาน กล่าวคือ สะดวกในการใช้งาน และมีสภาพทวนซ้ำได้สูง

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561ที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัด (CGPM) ครั้งที่ 26 ออกเสียงเป็นเอกฉันท์สนับสนุนบทนิยามใหม่ของหน่วยฐานเอสไอ ซึ่งกำหนดค่าเชิงตัวเลข (numerical value) ให้กับค่าคงตัวทางฟิสิกส์ (physical constant) 7 ตัว โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ถือเป็นการปรับเปลี่ยนปรัชญา หรือแนวคิดในการนิยามหน่วยฐานครั้งใหญ่และสำคัญยิ่ง เป็นการนำความรู้จากฟิสิกส์เชิงควอนตัมและทฤษฎีสัมพัทธภาพมาประยุกต์ทั้งระบบ The revised SI มีหน่วยฐานที่ได้รับการนิยามจากค่าคงตัวทางฟิสิกส์ ซึ่งมีหน่วยเชื่อมโยงกัน ดังต่อไปนี้


เวลา (second, s)


ความยาว (metre, m)


มวล (kilogram, kg)


กระแสไฟฟ้า (ampere, A)


อุณหภูมิ (kelvin, K)


ความเข้มของการส่งสว่าง (candela, cd)


ปริมาณของสสาร (mole, mol)


หน่วยฐานตามนิยามแบบใหม่


เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จากข้อมูลเบื้องต้นที่ผมนำมาฝากในวันนี้ หลาย ๆ ท่านที่ได้อ่าน Tip นี้คงพอจะเข้าใจและได้เห็นการเปลี่ยนแปลงนิยามใหม่ของหน่วยวัดพื้นฐานในระบบเอสไอ (SI) ได้บ้างนะครับ



อ้างอิง : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี






ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0