มัลติมิเตอร์ คืออะไร และมีกี่ประเภท

มัลติมิเตอร์ คืออะไร และมีกี่ประเภท

1 กันยายน 2566

เรียบเรียงโดย : สุธิดา นิจสุข
ฝ่ายขายสำนักงานใหญ่



สวัสดีค่ะทุกท่าน มัลติมิเตอร์ ชื่อภาษาอังกฤษ Multimeterคือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์วัดค่าต่างๆของไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้ได้ทั้งกับไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Electricity : AC) ที่มาของ มัลติมิเตอร์ คือเมื่อก่อนวิศวกรจะวัดค่าต่างๆของไฟฟ้าในแต่ละทีต้องมีการพกเครื่องวัดไฟฟ้าหลายๆแบบ เช่น โวลท์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ ในการวัดเพื่อให้ได้ค่าที่ต้องการ แต่เพื่อความสะดวกและรวดเร็วจึงมีการคิดค้นเครื่องมือที่สามารถวัดค่าต่างๆของไฟฟ้าได้ในครั้งเดียว คือ มิลติมิเตอร์นั่นเอง

ปัจจุบันมัลติมิเตอร์หลักๆมีทั้งหมด 2 แบบได้แก่


1.มิลติมิเตอร์แบบอนาล็อก หรือแบบเข็ม (Analog Multimeter)

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (AMM) ถือเป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้า ซึ่งมีย่านวัดหลายประเภทรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน ซึ่งปกติทั่วไปมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณทางไฟฟ้าดังต่อไปนี้
• ความต่างศักย์กระแสตรง (DC Voltage) 
• ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC Voltage) 
• ปริมาณกระแสตรง (DC Current) 
• ความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistance) 
• กําลังออกของสัญญาณความถีเสียง (AF Output) 
• การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC Current Amplification,hFE)
• กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (Leakage Current, (CEO)
• ความจุทางไฟฟ้า (Capacitance) 


ข้อดีของ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
• ราคาถูก แต่บางรุ่นที่มีความละเอียดมากๆก็จะแพงหน่อย
• มีปัญหาเกี่ยวกับความชื้นที่น้อยกว่า
• ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน
• กรณีที่เข็มชี้ในตำแหน่งระหว่าง 2 ขีด สามารถประมาณค่าตำแหน่งระหว่างขีดนั้นได้
• สามารถเห็นจังหวะสวิงของแรงดันกระแส แรงดันความต้านทาน หรือการแกว่งของกระแสไฟฟ้าได้ชัดเจนกว่า
• แสดงค่าได้แม่นยำกว่าในค่าที่ไม่ต่ำมากจนเกินไป 
• การวัดอุปกรณ์ เช่น คาร์ปาซิเตอร์ หรือ มอสเฟส สามารถวัดอ่านค่าได้ง่ายกว่า 
• ทนทานกว่า


ข้อเสียของ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม
การเก็บข้อมูลค่าที่วัดได้ จะต้องใช้วิธีจดบันทึกเอง
• ค่าการวัดที่แสดงออกมาผิดเพี้ยนกว่า 
• ปรับอ่านค่าแบบเฉลี่ยไม่ได้
• กรณีจะต้องวัดค่าโอห์มจำเป็นจะต้องปรับ Zero Adjust ทุกครั้ง
• ไม่มีระบบป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการตั้งย่านผิดลักษณะ (วัด AC แต่ปรับย่านไปที่โอห์ม หรือการวัดกระแสแรงดันกลับด้าน ผิดขั้ว เป็นต้น)
• การวัดค่าที่ต่ำเกินไป อนาล็อกไม่สามารถวัดได้ หรือวัดได้แต่อาจอ่านค่าไม่ได้


2 มิลติมิเตอร์แบบดิจิตอล หรือแบบตัวเลข (Digital Multimeter) 


มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล เป็นมัลติมิเตอร์อีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนา มาจากมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก แต่เปลี่ยนรูปแบบเทคโนโลยีเคลื่อนที่ด้วยสนามแม่เหล็ก เป็นเทคโนโลยีแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน โดยนําเอาระบบดิจิตอลที่แสดง ตัวเลขเข้าแทนที่ในการแสดงผลการวัด ทั้งนี้ได้มีการรวมเอาดิจิตอลโอห์มมิเตอร์ (Digital Ohmmeter) ดิจิตอลแอมป์มิเตอร์ (Digital Ammeter) และดิจิตอล โวลต์มิเตอร์ (Digital Voltmeter) เข้าไว้ในเครื่องวัดเครื่องเดียวกันเช่นเดียวกับ มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก และที่สําคัญนั้น มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลถูกสร้างขึ้นมา เพื่อทําลายข้อจํากัดมากมายของ มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกนั้นเอง
• ข้อจํากัดที่เกี่ยวกับความชํานาญการอ่านค่าของผู้ใช้งาน 
• การวัดค่าและการอ่านค่ามีความถูกต้องมากขึ้น 
• ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการอ่านค่า 
• มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่า 
• มีระบบป้องกันความเสียหายที่อนาล็อกไม่มี


ข้อดีของ มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
• ระบบการทำงานเป็นแบบ auto
• แสดงผลได้รวดเร็วกว่า
• แสดงค่าได้แม่นยำกว่าแม้จะมีค่าต่ำสุดก็ตาม
• ใช้งานง่ายกว่า และแสดงค่าเป็นตัวเลขที่ตรงตัว
• เลือกความละเอียดได้ใน ทศนิยม 2-3 ตำแหน่ง
• ใช้งานได้ดีภายใต้ความกดดัน
• สามารถเก็บข้อมูลการวัดค่าได้แบบอัตโนมัติ
• สามารถแสดงค่าได้ละเอียดมากกว่า
• สามารถแสดงค่าได้แม้จะผิดขั้วก็ตาม 
• มีความแม่นยำสูงกว่า และตัดปัญหาความผิดเพี้ยนที่เกิดจากการอ่านค่า 
• ไม่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญในการอ่านค่า 


ข้อเสีย ของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
• ราคาแพง แต่ในปัจจุบันมียี่ห้อที่ราคาถูกแล้ว แต่คุณภาพก็ตามราคา
• ความไม่นิ่งของการแสดงตัวเลข อาจเป็นอุปสรรคของการอ่านค่าที่แน่นอน 
• อาจเกิดความผิดพลาดได้เมื่อมีการวัดเซมิคอนดักเตอร์


อ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล
https://www.powermeterline.com/multimeter/
https://toolmartonline.com/powertools/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%



ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0