Temp 1 ตัว ถ้าต่อหัววัด 3 ตัว อุณหภูมิที่อ่านได้จะเป็นยังไง?

Temp 1 ตัว ถ้าต่อหัววัด 3 ตัว อุณหภูมิที่อ่านได้จะเป็นยังไง?

20 พฤศจิกายน 2558


เขียนโดย : Product Manager SHIMAX


สวัสดีครับทุกท่าน เจอคำถามนี้มาหลายครั้ง ว่า Temp Control 1 ตัว ถ้าต่อหัววัด 3 ตัวพร้อมกัน อุณหภูมิที่อ่านได้จะเป็นยังไง? จึงทำการทดลอง แล้วนำผลมาฝากครับ
โดยได้ทดลองภายใน Lab TIC ที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 ทุก Parameter นะครับ ผลเชื่อถือได้แน่นอน 100%
จากรูปเป็นการต่อหัววัด Type K จำนวน 3 ตัว โดยต่อแบบขนานเข้ากับ Temp Shimax 1 ตัว



หัววัดตัวที่ 1 วัดที่ 0 องศากับ Dry Block

หัววัดตัวที่ 2 วัดที่ 100 องศากับ Dry Block

หัววัดตัวที่ 3 วัดที่ 22 องศา(อุณหภูมิห้อง Lab)

ในการทดลองนี้ทำในห้อง Lab ที่อุณหภูมิห้อง 22 องศา ค่าที่โชว์หน้าจอ Temp จะได้ตามรูปที่ 1 คือ ประมาณ 40 องศา ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามทฤษฎี Seabeck Voltage ของ Thermocouple ดังนี้

สรุปได้ว่า การต่อแบบขนานของหัววัดอุณหภูมิ Thermocouple จะได้อุณหภูมิเฉลี่ยของทุกจุดนะครับซึ่งหลักการจริงๆต้องวัดเป็น mV ออกมาของหัววัดทั้ง 3 ตัว แล้วจึงนำมาเทียบค่ากับตารางแปลงเป็นอุณหภูมิออกมาก่อน จากนั้นจึงจะนำมารวมกันหาร 3 และจะต้องนำมาลบ(-)กับค่าอุณหภูมิห้องที่ติดตั้งตัว Temp ไว้ (จุด Junction ของหัววัดทั้ง 3 ตัว ต้องอยู่ในจุดเดียวกันด้วย) ถึงจะได้ค่าอุณหภูมิที่ถูกต้องจริงๆ ถ้าตำแหน่งการต่อหัววัดอยู่กันคนละที่ ก็จะได้ค่าที่แตกต่างออกไปอีก หากต้องการนำไปต่อใช้งานจริง ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วยนะครับ ไม่งั้นผลที่ได้อาจผิดพลาดไป แล้วอาจส่งผลเสียต่อชิ้นงานได้ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆท่านที่ค้นหาคำตอบอยู่นะครับ



ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0