การประยุกต์ใช้ Timer ตรวจสอบว่ามอเตอร์ยังหมุนอยู่หรือไม่

การประยุกต์ใช้ Timer ตรวจสอบว่ามอเตอร์ยังหมุนอยู่หรือไม่

3 มีนาคม 2559


เขียนโดย : นาธาร จันทรสุริ
ฝ่ายขายสาขาชลบุรี


สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ผมจะมาพูดถึง Timerทุกท่านคงจะรู้จัก Timer กันอยู่แล้ว ซึ่งเรามามาใช้งานเกี่ยวกับการตั้งการทำงานของเครื่องจักรหรือใช้เปิดปิดไฟ ต่างๆ แต่คราวนี้ผมจะมาแนะนำการใช้งานฟังก์ชั่นของตัว Timer ในการตรวจจับการหมุนของมอเตอร์

หากท่านมีหน้างานที่ต้องการจะทราบ ว่ามอเตอร์ยังหมุนอยู่ไหมเมื่อทำการสั่งงานของเครื่องจักร โดยไม่ต้องการที่จะดูค่าการหมุน ไม่ต้องการจอแสดงผล แค่ต้องการว่าหากมอเตอร์ไม่หมุนให้มีสัญญาณไฟติดที่ห้องควบคุมเเพื่อแจ้งให้ ทางช่างทราบเท่านั้น และที่สำคัญราคาไม่สูง
เราประยุกต์นำตัว Timer มาใช้งานในครั้งนี้ได้ครับ


อุปกรณ์ที่มีคือ

1. PMB01DM24 จำนวน 1 ตัว (ตัว Timer Multifunction)
2. ZPD11A จำนวน 1 ตัว (ซ็อกเก็ต11ขา)
3. ICB12-SF-02PO จำนวน 1 ตัว (พร็อกซิมิตี้สวิตช์)
4. ชุดไฟเตือน จำนวน 1 ชุด
5. SPD2460 จำนวน 1 ตัว (เพาเวอร์ซัพพลาย 24 VDC)

เมื่อทำการเตรียมอุปกรณ์ครบแล้วก็ทำการ ต่อสายตามรูปได้เลยครับ

หลักการทำงาน

ตัว Timer มีฟังก์ชั่น OP-Delay on operate-Manual start คือตัว Timer จะทำงานเมื่อมีการส่ั่งงานจากสวิตช์ภายนอก โดยการต่อไฟเลี้ยงเข้าที่ขา 5 เพื่อเป็นตัวทริกเริ่มทำงานของตัว Timer ตัว Timer จะเริ่มนับเวลาตามที่ตั้งไว้เมื่อนับครบ เอาต์พุตจะ ON เช่นตั้งเวลาไว้ 5 วินาที่ เมื่อมีการทริกที่ขา 5 ตัว Timer จะนับจนครบ 5 วินาทีแล้วเอาต์พุตจะทำงาน แต่ถ้ามีการทริกที่ขา 5 ก่อนเวลาจะครบ ตัว Timer จะเริ่มนับเวลาใหม่ตามไดอะแกรมด้านล่าง


จากฟังก์ชั่นนี้ผมจึงนำพร็อกซิมิตี้สวิตช์รุ่น ICB12-SF-02PO มาเป็นตัวตรวจจับการหมุนของมอเตอร์โดยจับที่แกนเพลา เมื่อตรวจจับแกนเพลาได้พร็อกซิมิตี้สวิตช์จะส่งสัญญาณทริกไปที่ขาที่ 5 ของตัว Timer ตัว Timer จะเริ่มนับเวลา แต่เนื่องจากว่าเมื่อมอเตอร์หมุนอยู่นั้น พร็อกซิมิตี้สวิตช์ก็จะตรวจจับและส่งสัญญาณเข้าที่ขาที่ 5 ของตัว Timer ตลอดทำให้ตัว Timer เริ่มนับเวลาใหม่ตลอด จนกว่ามอเตอร์หยุดหมุนทำให้พร็อกซิมิตี้สวิตช์ไม่ส่งสัญญาณเข้าที่ขาที่ 5 ตัว Timer จะนับเวลาจนครบเอาต์พุตก็จะ ทำงานทำให้ไฟแสดงผลติด อาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมไม่จับตรงตัวแมกเนติกแทนละว่าทำงานหรือไม่ ซึ่งบางครั้ง หน้างานบางอย่างก็อาจเกิดกรณีที่แมกเนติกทำงานปกติ แต่มอเตอร์ไม่หมุนได้เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องจับที่มอเตอร์เท่านั้นครับ

ข้อควรระวัง

เราต้องทราบความเร็วของมอเตอร์ว่าอยู่ที่เท่าไหร่ เราต้องเลือกตัวพร็อกซิมิตี้ให้เหมาะสมกับความถี่ในการใช้งานด้วยครับ เช่นที่ตัวพร็อกซิมิตี้สวิตช์ระบุอยู่ที่ไม่เกิน 20 kHz มอเตอร์ต้องมีความเร็วไม่เกิน 20,000 รอบต่อวินาที่ หากความเร็วเกินกว่านี้ ตัวพร็อกซิมิตี้สวิตช์จะตรวจจับไม่ได้ครับ และการตั้งเวลาการนั้บของตัว Timer ต้องสอดคล้องกับการหมุนของมอเตอร์ด้วยครับ หากตั้งเวลาเร็วไป จะทำให้ตัว Timer ทำงานเร็วไปครับ

หวังว่าจะเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้งานฟังก์ชั่นของตัว Timer ได้ไม่มากก็น้อยครับ





ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0