Power Factor (PF) หรือ ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า คืออะไร ?

Power Factor (PF) หรือ ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า คืออะไร ?

20 ตุลาคม 2560


เขียนโดย : Product Manager


สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้จะมานำเสนอเรื่อง Power Factor (PF) หรือ ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า กันแต่ก่อนจะอธิบายเรื่อง Power Factor อยากให้ท่านผู้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับชื่อเรียกเชิงพลังงาน หรือกำลังในระบบไฟฟ้า รวมถึงสัญลักษณ์ และหน่วยวัด ดังนี้

  • กำลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานได้จริง (Real Power) ใช้สัญลักษณ์ “ P ” มีหน่วยเป็น วัตต์ (Watt : W)
  • กำลังงานที่ปรากฏ (Apparent Power) ใช้สัญลักษณ์ “ S ” มีหน่วยเป็น วีเอ หรือโวลท์-แอมป์ (VA)
  • กำลังงานสูญเสีย หรือส่วนเกิน ที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (Reactive Power) ใช้สัญลักษณ์ “ Q ” มีหน่วยเป็นวาร์ (VAR)


ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power Factor : PF.) หรือที่เรียกกันว่า “ ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ” คือ ค่าตัวเลขอัตราส่วนของ P หารด้วย ค่า S เขียนเป็นสมการได้ว่า PF = P ÷ S

อธิบายให้เข้าใจได้ว่า Power Factor คือ ตัวเลขที่บอกถึงกำลังงานไฟฟ้าที่เกิดการทำงานขึ้นจริง สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงๆ เทียบกับขนาดของกำลังงานทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบไฟฟ้านั้น

ซึ่งกำลังงานส่วนเกินที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง ก็คือ Q สามารถอธิบายเป็นรูปสามเหลี่ยมพลังงานได้ดังนี้


จากนิยามของ Power Factor แสดงให้เห็นว่า ระบบไฟฟ้าใดที่มีตัวประกอบกำลังไฟฟ้าต่ำ จะทำให้เกิดการสูญเสียทั้งในระบบไฟฟ้าและของผู้ใช้ไฟฟ้าเอง ซึ่ง Q เป็นกำลังงานที่สูญเสียในระบบ ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะเป็นภาระให้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า รวมถึงสายส่งในระบบด้วย

ดังนั้นในกรณีระบบที่มี Power Factor ต่ำ จะมีประสิทธิภาพของการจ่ายไฟฟ้าต่ำกว่าระบบที่มี Power Factor สูง รวมถึงก่อให้เกิดการสูญเสียและสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ


โดยทางการไฟฟ้าได้มีมาตรการกำหนดให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ต้องปรับปรุงระบบให้มีค่า Power Factor สูงกว่า 0.85 ขึ้นไปเพื่อให้ประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าโดยรวมของประเทศอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
และเพื่อลดการสูญเสียพลังงานมวลรวมของชาติด้วย ซึ่งทางการไฟฟ้าจะมีค่าปรับสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่ปฏิบัติตาม

จากที่กล่าวมาเบื้องต้น ทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจและทราบถึงประโยชน์ในการปรับปรุง Power Factor ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด หรือทำให้ค่า Power Factor เข้าใกล้ 1 มากที่สุด ยิ่งเป็นคุณประโยชน์อย่างมากมาย ต่อโรงงาน หรืออาคารของท่านเอง โดยหนึ่งในกระบวนการปรับปรุงค่า Power Factor นั้น ย่อมมีการตรวจวัดจัดเก็บข้อมูลก่อน รวมถึงตรวจวัดเก็บข้อมูลก่อนและหลังขั้นตอนการปรับปรุงค่า Power Factor ดังนั้นเครื่องมือวัดและบันทึกค่า Power Factor ย่อมมีความจำเป็นอยู่ไม่น้อย


ซึ่งเครื่องมือวัดและบันทึกค่า Power Factor ในปัจจุบันก็มีหลากหลาย ยกตัวอย่างยี่ห้อ Chauvin Arnoux จากประเทศฝรั่งเศส ก็มีหลากหลายรุ่นตามลักษณะหน้างาน เช่น F605 , CA-8230 , PEL103 หรือ CA-8336 เป็นต้น เพื่อให้รองรับทุกความหลากหลายตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้ครับ




ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0