ทำความรู้จักเครื่องวัดความสั่นสะเทือนกัน

ทำความรู้จักเครื่องวัดความสั่นสะเทือนกัน

7 พฤศจิกายน 2560



เขียนโดย : นเรศร์ ดวมภุมเมศ


ฝ่ายขายสาขาธนบุรี



สวัสดีครับ ทุกท่านเราอาจเคยได้ยินชื่อเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vibration) กันมาบ้าง มันคือตัวอะไร มีหลักการทำงานอย่างไร ใช้ทำอะไร วันนี้มาเล่าให้ฟังครับ
ขออนุญาติยกตัวอย่างมาสักรุ่นหนึ่ง เป็นยี่ห้อ Daiichi รุ่น HY-103 A นะครับ แล้วเรามาลงลึกรายละเอียด

ก่อนอื่น เราต้องรู้ความหมายของ การสั่นสะเทือน คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุในทิศทางซ้ำๆ จากข้างหน้าไปหลัง,จากซ้ายไปขวา,หรือจากบนลงล่าง เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้จักองค์ประกอบของการวัดแรงสั่นสะเทือน มีอยู่ 4 ส่วน

1. ความถี่ ( Frequency ) คือ รอบของการหมุนต่อหน่วยเวลา เช่น เพลาหมุนด้วยความเร็ว 1,200 rpm = 1,200/60 = 20 Hz ดังนั้นการใช้งานเครื่องมือก็ดูย่านความถี่ใช้งานด้วยครับ ถ้าตามสเปคของสินค้ารุ่น HY-103A จะมีย่านความถี่ 10 Hz - 1 kHz ( 5 kHz )


2. ระยะการสั่น ( Replacement ) คือ การวัดระยะการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีการสั่นว่า มีการเคลื่อนที่จากจุดอ้างอิงไปเท่าใดในแต่ละรอบ หน่วยจะเป็น mm และตามสเปคของ HY-103A จะเป็นการวัดแบบ Peak to Peak จะใช้งานกับการเคลื่อนที่ที่มีความเร็วรอบต่ำ เช่น การสั่นสะเทือนของท่อ หรือแรงสั่นสะเทือนบนพื้น

3. ความเร็ว ( Velocity ) คือ การวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่สั่นสะเทือนว่า มีความเร็วเท่าไหร่ในแต่ละรอบการสั่น โดยสินค้ารุ่นHY-103A จะวัดแบบ mm/s ( rms ) ใช้ในงานที่ต้องการวัดความไม่สมดุล การวัดเยื้องศูนย์ เป็นต้น

4. อัตราเร่ง ( Acceleration ) คือ การวัดการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลา การวัดแบบนี้จะเป็นการวัดความสั่นสะเทือนที่ความถี่สูง เพราะการสั่นสะเทือนที่ความถี่สูงนั้น ระยะทางการเคลื่อนที่จะน้อย และในขณะเดียวกันความเร็วในการเคลื่อนที่จะสูงมาก เช่นการวัดความสั่นสะเทือนของ Bearing


หวังว่าจะทำให้ทุกท่านเข้าใจตัวเครื่องวัดความสั่นสะเทือนนี้ได้มากขึ้น และอาจนึกภาพหน้างานที่จะนำไปใช้ได้ชัดเจนขึ้นนะครับ



ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0