เลือก PLC ให้เหมาะกับงาน ?

เลือก PLC ให้เหมาะกับงาน ?

14 เมษายน 2563


เรียบเรียงโดย : ชุติพงศ์ ไกรวาส

Product Specialist PLC & HMI SIEMENS


สวัสดีครับ ทุกท่านเคยมีปัญหากับการเลือกรุ่น PLC ตัวแรกใช่หรือไม่ เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีปัญหาแน่นอน เช่น ใช้ไฟกี่โวลท์ ใช้ อินพุตเท่าไหร่ เอ้าท์พุตเท่าไหร่ มีอินพุตแบบไหน ใช้ PLC ควบคุมอะไร ใช้ยี่ห้ออะไร ราคาเท่าไหร่ ใช้โปรแกรมไหนในการเขียน เป็นคำถามที่เกิดขึ้นเสมอสำหรับมือใหม่ แล้วคุณมีปัญหาแบบนี้ไหม คิดว่าหลายท่านกำลังเจออยู่ ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่ยากเลยในการเลือกซื้อ PLC ใน TIPนี้เราจะรวบรวมวิธีในการเลือกรุ่น PLC เบื้องต้นมาให้พิจารณากัน มาดูกันเลยว่าจะมีวิธีไหนบ้าง

ยี่ห้ออะไรบ้าง
พีแอลซีนั้นมีหลายยี่ห้อ ในเมืองไทยมีประมาณสิบยี่ห้อที่เป็นนนิยมในท้องตลาด สามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป มีทั้งมือหนึ่งหรือมือสอง ตามงบประมาณและงานที่ได้ออกแบบไว้ หรือโปรเจคสำหรับนักศึกษา เนื่องจากโปรเจคนักศึกษานั้น ต้องการแค่ทดลองให้เกิดผลตามที่ออกแบบโปรแกรมไว้ ไม่จำเป็นต้องนำไปใช้จริง จึงสามารถเลือกใช้ PLC มือสองหรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อประหยัดงบประมาณ โดยเราจะแนะนำพีแอลซียี่ห้อต่าง ๆ เช่น


PLC MITSUBISHI เป็น PLC จากประเทศญี่ปุ่นมีราคาย่อมเยา สามารถหาซื้อได้ทั่วไป มีหลากหลายรุ่น รุ่นที่นิยมในประเทศไทยคือรุ่นFX series ,MEELSEC IQ-F,Q series,A series รุ่นที่นิยมมากที่สุดคือตระกูล FX หรือช่างจะเรียกว่า FX ซีรีย์ เพราะมีราคาย่อมเยาใช้งานได้หลากหลาย เรียกว่า PLC แบบ all in one ก็ว่าได้เนื่องจากจ่ายไฟเลี้ยงแล้วสามารถใช้งานได้เลย


PLC SIEMENS เป็น PLC จากประเทศเยอรมันซึ่งปัจจุบันราคาก็ใกล้เคียงกับแบรนด์ญี่ปุ่นมาก มีรุ่นที่นิยมใช้ในประเทศไทยคือ ตระกูล S7-200,S7-1200,S7-300,S7-400,S7-1500 สามารถเลือกได้ตามความต้องการของแต่ละงาน รุ่นเล็กสุดจะเป็นรุ่น S7-200 ราคาจะถูกที่สุดในตระกูล S7 แต่ปัจจุบัน S7-200 เลิกผลิตไปแล้ว แต่ก็ยังหาซื้อ Spare part ได้ รุ่นที่ขึ้นมาทดแทนก็คือ S7-1200


ประเภทของแหล่งจ่าย (Power Supply)
ในส่วนของการใช้ไฟฟ้านั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะดวก ในการปฎิบัติงานเป็นหลัก เนื่องจากโดยทั่วไปนั้น PLC จะสามารถรับแหล่งจ่ายไฟ(แหล่งจ่ายไฟ คือ ไฟที่ต่อเพื่อให้ PLC ทำงาน โดยทั่วไปจะเรียกว่าเพาเวอร์ซับพลาย( POWER SUPPLY) ได้ 2 แบบ คือ แบบ AC 85-220 โวลท์และ ไฟ DC 24V อีกส่วนหนึ่งคือไฟอินพุตและเอ้าท์พุต ในส่วนนี้ก็เช่นเดัยวกัน อินพุตสามารถรับไฟได้สองแบบเช่นเดียวกันคือไฟ DC และ AC
เอ้าท์พุตสามารถรับไฟได้สองแบบเช่นเดียวกันคือไฟ DC 24V และ AC 220V คุณต้องตรวจสอบคุณสมบัติของ PLC ในแต่ละยี่ห้อว่าใช้ไฟเลี้ยงเท่าไหร่ อินพุตรับไฟเลี้ยงเท่าไหร่กี่แอมป์ เอ้าท์พุตเป็นชนิดใด เช่น RELAY,TRANSISTOR หรือ TRIAC

ขนาด INPUT / OUTPUT
ขึ้นอยู่กับรุ่นและราคาของ plc แต่ละยี่ห้อ เนื่องจาก plc แต่ละยี่ห้อสร้างมาเพื่อทำงานในระบบอัตโนมัติ
ตั้งแต่ระบบง่าย ๆ จนถึงซับซ้อน บางยี่ห้อมีแบบ module เพียงอย่างเดียวซึ่งสามารถขยายจำนวน input/output ได้มาก แต่ราคาก็จะแพงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาว่าควรจะใช้เท่าไหร่จึงจะพอเหมาะหรืออาจจะเผื่อไว้ขยายในอนาคตไปเลย


ประเภทของ INPUT
โดยทั่วไป input จะถูกแบ่งประเภทออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ
Analog Input คือสัญญานแรงดันหรือกระแส ที่มีขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ 1-5 V หรือ 4-20ma หรือ 0-20mA
Digital input คือสัญญานแรงดัน ที่มีขนาดแรงดัน +24 VDC หรือ -24 VDC มี 2 สถานะ คือ 0 เป็น OFF 1 เป็น ON

ขนาดของหน่วยความจำ
ยิ่งมีมากก็สามารถที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมได้มาก แต่ราคาก็จะแพงมากขึ้นไปด้วย

การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
ปัจจุบันนี้มีความสำคัญมากเนื่องจาก ระบบการผลิตขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของกระบวนการผลิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดปัญหาการขัดข้องในสายพานการผลิต วิธีที่นิยมคือการมอนิเตอร์ระบบควบคุมต่าง ๆ แบบตลอดเวลาเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเพื่อบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ตัวพีแอลซีในปัจจุบันจึงต้องสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายและสามารถมอนิเตอร์ระบบได้จากศูนย์กลางทั้งระยะใกล้คือภายในโรงงานเองหรือระยะไกลจากระบบอินเตอร์เน็ต

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : เว็บไซต์ a-automation





ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0