ระดับความอันตรายของเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม

ระดับความอันตรายของเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม

13 February 2020

เรียบเรียงโดย : ฝ่ายขายสำนักงานใหญ่



สวัสดีครับทุกท่าน ระดับความอันตรายของเลเซอร์ ในงานอุตสาหกรรมเราก็มีอุปกรณ์เครื่องมือหลายชนิดที่ใช้เลเซอร์เป็นส่วนประกอบ เคยทราบหรือไมว่าในแต่ระดับมีความอันตรายอย่างไรบางระดับความอันตรายของเลเซอร์ (Laser Classes and Safety)


เนื่องจากเลเซอร์มี มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีหลายแบบ กำลังความเข้มก็แตกต่างกัน อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ก็แตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง หรือบางอันอาจจะไม่เกิดอันตรายเลย แม้จะจ้องลำแสงสัก 5 นาที แต่บางชนิดเพียงแค่แสงสะท้อนจากขอบแผ่นพลาสติกก็อาจทำให้ ตาบอดได้ ดังนั้นระดับของความระมัดระวัง การป้องกัน ก็จะแตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าเลเซอร์ชนิดใด ก็มีมาตรการป้องกันเข้มงวดที่สุด เหมือนกันหมด โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ (Class) ดังนี้

ระดับที่ 1 (Class 1)
เป็นเลเซอร์ที่กำลังน้อยมากจนถือได้ว่าปลอดภัย โดยเลเซอร์ระดับนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อ ตา ผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งในการใช้งานเลเซอร์ระดับชั้นนี้ไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีเครื่องหมายเตือน นอกจากป้ายติดไว้ที่เลเซอร์ว่าเป็นเลเซอร์ระดับที่ 1


ระดับที่ 1M (Class 1M: Magnifier)

เลเซอร์ ระดับที่ 1M ประกอบด้วยเลเซอร์ ที่ให้ กำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่มีลำแสงที่ diffuse นั่นหมายถึงลำแสง สามารถขยายออกได้โดยใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์


ระดับที่ 2 (Class 2)

เลเซอร์ในระดับนี้จะเป็นเลเซอร์ที่กำลังต่ำและมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่สามารถ เห็น ได้ (ความยาวคลื่นในช่วง 400-700 นาโนเมตร) โดยมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ และต้องเป็นชนิดต่อเนื่องเท่านั้น เลเซอร์ในระดับชั้นนี้ไม่ได้จัดว่าปลอดภัยเหมือนเลเซอร์ระดับ ที่ 1 แต่มีอันตรายไม่มากนักและถ้าแสงเลเซอร์ในระดับชั้น นี้เข้าตา การหลับตาทันทีที่รู้ว่าแสงเข้า ซึ่งปกติจะเร็วมาก (ประมาณ 0.25 วินาที) ก็จะเป็นการป้องกัน อันตรายที่เพียงพอ เพราะช่วงเวลาที่รับเอาแสงจะสั้นมากจนไม่เป็นอันตราย


ระดับที่ 2M (Class 2M: Magnifier)

เลเซอร์ระดับที่ 2M ประกอบด้วยเลเซอร์ ประเภท เดียวกับในระดับที่ 2 แต่ให้กำลังมากกว่า เลเซอร์ระดับที่ 2 และมีลำแสงที่ diffuse นั่นหมายถึงลำแสงสามารถขยายออกได้โดยใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์

ระดับที่ 3R (Class 3R: Restricted)
ประกอบด้วยเลเซอร์ทั้ง ใน ย่านที่ตามองเห็นและมองไม่เห็นย่านที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นช่วง 400 - 700 นาโนเมตร): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 1 มิลลิวัตต์ ถึง 5 มิลลิวัตต์ย่านที่ตามองไม่เห็น (เช่น อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต) ประกอบด้วยเลเซอร์ที่ มี กำลังมากกว่ากำลังของเลเซอร์ ระดับที่ 1 แต่น้อยกว่า 5 เท่าของกำลังของ เลเซอร์ ระดับที่ 1


ระดับที่ 3B (Class 3B)

ประกอบด้วยเลเซอร์ทั้งในย่านที่ตามองเห็นและมองไม่เห็น ย่านที่ตามองเห็น(ความยาวคลื่นช่วง 400 - 700 นาโนเมตร) ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 5 มิลลิวัตต์ ถึง 500 มิลลิวัตต์ย่านที่ตามองไม่เห็น (เช่น อินฟราเรดและอัลตราไวโอเลต) ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่า 5 เท่าของกำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่ต่ำกว่า 500 มิลลิวัตต์

ระดับที่ 4 (Class 4)
เลเซอร์ในระดับนี้คือเลเซอร์ทั้งหลายที่ไม่สามารถจัดอยู่ในระดับอื่น ๆ ข้างต้นได้ แต่จะเป็นเลเซอร์ที่มีกำลังสูงมาก (มากกว่า 5 มิลลิวัตต์) ลำแสงเลเซอร์ระดับนี้ถือว่ามีอันตรายต่อ นัยน์ตาและผิวหนังอย่างยิ่ง แม้กระทั่งลำแสงที่สะท้อนแล้วก็ยังสามารถทำอันตรายได้

อันตรายจากแสงเลเซอร์

อันตรายที่สามารถเกิดขึ้นจากแสงเลเซอร์สามารถแบ่งได้ 2 แบบ
1. อันตรายต่อนัยน์ตา
เมื่อลำแสง เลเซอร์เข้าตาเพราะตาเป็นส่วนที่ไวแสงมากที่สุด นอกจากนี้เลนส์แก้วตายังรวมแสงให้โฟกัสบนเรตินา ทำให้ความเช้มแสงสูงมากขึ้นกว่าที่ตกบนแก้วตาประมาณ 1 แสนเท่า! การให้ลำแสงเลเซอร์ที่มีความเข้ม มากพอเข้าสู่ตาสามารถทำให้ตาบอดได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างไม่เพียงแต่ความเข้มแสงเท่านั้น ยังขึ้นกับความยาวคลื่นแสง และช่วงเวลาที่ได้รับแสงด้วย

2. อันตรายต่อผิวหนัง
แสงเลเซอร์ตกกระทบผิวหนังก็ยังมีอันตรายอยู่แม้ว่าจะน้อยกว่ากรณีที่แสงเข้าตาเพราะผิวหนังจะสามารถสะท้อนแสงได้ส่วนหนึ่งและส่วนใหญ่จะไม่ไวต่อแสงมากนัก แต่ถ้าความ เข้มของเลเซอร์สูงพอ ก็อาจตัดหรือทะลุผิวหนังทำให้เป็นแผลได้ และควรระวังในกรณีที่เป็นแสงเล เซอร์ทในช่วงอัลตราไวโอเลต เพราะแสงในช่วงนี้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของเซลล์ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นมะเร็งได้

การป้องกันอันตรายจากแสงเลเซอร์
แสงเลเซอร์ไม่ว่าจะมีประโยชน์มากเพียงใด ก็ยังสามารถเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน
1. อย่าให้เลเซอร์เข้าตา
• จัดทางเดินของ แสง ให้เหมาะสม เช่น ไม่ให้อยู่ในระดับสายตาพอดี
• มีเครื่องป้องกันแสงส่วนที่ไม่ต้อง การ ออกจากเลเซอร์ หรืออุปกรณ์ที่เราใช้งาน
• ใส่แว่นตาพิเศษ เป็นการป้องกันที่ตัวเราเอง โดยแว่นนี้จะลดความเข้มแสงลงจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็น อันตรายต่อตาของเรา
ซึ่งแว่นตานี้ก็จะเป็นชนิดไหน ลักษณะอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นแสงและความเข้มของแสง เลเซอร์ที่ออกมา ควรจะใส่แว่นตานี้ทุกครั้งที่ทำทำงานหรือเข้าไปใน บริเวณที่มีการใช้งานแสงเลเซอร์

2. คิดอยู่เสมอว่าเลเซอร์เป็นของอันตราย
• กันบริเวณการใช้งานเลเซอร์ออกจากบริเวณ อื่น ๆ เช่น มีห้องเป็นสัดส่วน
• มีป้ายเตือน ทั้งที่ตัวเลเซอร์ และบริเวณห้อง หรือสถานที่ใช้งานเพื่อให้บุคคลทั่วไปรู้ว่ามีแสงเลเซอร์ในบริเวณนั้น



ข้อมูลอ้างอิงจาก
http://www.sc.mahidol.ac.th/scpy/Optics/basic_laser5.htm
http://www.cncroom.com/forum/index.php?topic=1608.0
https://www.rli.com/products/signs.aspx?idcategory=38






Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0