ฮีตเตอร์ 380V, 220V, 110V, 24V หรืออื่นๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร...?

ฮีตเตอร์ 380V, 220V, 110V, 24V หรืออื่นๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร...?

4 August 2020

เขียนโดย : Product Manager




สวัสดีครับทุกท่าน ฮีตเตอร์ 380V, 220V, 110V, 24V หรืออื่นๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร...?ความเหมือนกันคือ ลักษณะ, รูปร่าง, ขนาด แต่ความต่างคือ ลวดฮีตเตอร์ที่อยู่ภายใน

ในขั้นตอนการผลิตมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตให้ตรงกับการนำไปต่อใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าต่างๆจึงต้องมีการคำนวณเพื่อหาความต้านทานของลวดฮีตเตอร์ที่จะใช้ในการผลิต (จาก V และ W ; P= E²/ R) ผลคือ ความต้านทานของลวดฮีตเตอร์ที่ใช้มีความแตกต่างกันในเอง ตัวอย่าง เช่น

• ฮีตเตอร์ 380V-1000W มีค่าความต้านทาน 144.40 โอห์ม

• ฮีตเตอร์ 220V-1000W มีค่าความต้านทาน 48.4 โอห์ม
• ฮีตเตอร์ 110V-1000W มีค่าความต้านทาน 12.1 โอห์ม
• ฮีตเตอร์ 24V-1000W มีค่าความต้านทาน 0.57 โอห์ม

สิ่งที่ต้องระวังคงเป็นเรื่องของการนำไปต่อใช้งานมากกว่า เพราะหากนำไปต่อใช้งานไม่ตรงตามแรงดันไฟฟ้าที่ผลิต จะส่งผลต่อกำลังวัตต์ที่ได้ทันที เช่น


• ฮีตเตอร์ 380V-1000W แต่ใช้แรงดันไฟฟ้า 220V วัตต์จะลดลง 335 W (P = 220² / 144.4 ; P = 335 W) ทำให้ฮีตเตอร์ไม่ร้อนอย่างที่ควรจะเป็น
• ฮีตเตอร์ 220V-1000W แต่ใช้แรงดันไฟฟ้า 380V วัตต์จะเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 W (เนื่องจาก P = 380² / 48.4 ; P = 2,983 W) กำลังวัตต์จะทวีคูณเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ส่งผลให้ฮีตเตอร์ขาดในเวลาอันสั้น เพราะลวดภายในไม่ได้ถูกออกแบบให้รองรับกำลังวัตต์ที่มากขนาดนั้น

สรุป ฮีตเตอร์ 380V, 220V, 110V, 24V หรือที่แรงดันไฟฟ้าอื่นๆ แตกต่างกันตรงค่าความต้านทานครับ,Tubular Heater ,IMMERSION HEATER ,Finned Heater




Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0