Timer Function Star – Delta Motor ทำงานอย่างไร?

Timer Function Star – Delta Motor ทำงานอย่างไร?

21 พฤศจิกายน 2561

Timer Function Star – Delta Motor ทำงานอย่างไร?


เขียนโดย : ปัญญา พละกลาง

Product Manager




สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่องของไทเมอร์ มาดูกันครับว่าทำไมเราถึงมีการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star หรือ Delta นั่นก็เนื่องมาจากลดการกระชากของกระแสมอเตอร์นั่นเอง ซึ่งเมื่อก่อน วงจรสตาร์ทมอเตอร์ถ้ามีการตั้งเวลาเข้ามาเกี่ยงข้อง จะยุ่งยากซับซ้อน ปวดหัวแต่พอมีตัว DAC51สามารถตั้งเวลาสตาร์ทจาก Star หรือ Deltaได้ตั้งแต่ 50 - 130 ms ซึ่งเหมาะกับการปรับเปลี่ยนค่าเวลาสตาร์ทบ่อย ๆ ออกแบบวงจรได้รวดเร็วขึ้นประหยัดเวลาบำรุงรักษาง่ายและสะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังตั้งเวลาของสตาร์ท แบบ Star ได้นาน 0.1 – 600 Sมีช่วงการใช้งานให้เลือกใช้หลายช่วง 0.1 – 1 S, 1 – 10 S, 6 – 60 S, 60 – 600 S ซึ่งมีความเที่ยงตรงถึง 0.2 % มาจากประเทศอิตาลี



รูปที่ 1 : รุ่น DAC51 ไทเมอร์แบบ Star – Delta Motor


รูปที่ 2 : ไดอะแกรมการทำงานไทเมอร์แบบ Star – Delta Motor

จากกราฟรูปที่ 2 เป็นไดอะแกรมลักษณะการทำงานเมื่อมีไฟเลี้ยงเข้ามาที่ตัวเครื่อง Relay ขา 15,16 จะทำงานหน่วงเวลาไปเท่ากับเวลา Ty = ค่าที่เราตั้งไว้สตาร์ทแบบ Star ก่อน เมื่อครบระยะเวลาแล้วจะเปลี่ยนไปใช้เวลาช่วง Ty - d = ตั้งแต่ 50 - 130 ms ใช้ Relay ขา15,18 ซึ่งเป็นการทำงานแบบ Delta ต่อไป




รูปที่ 3 : การเชื่อมต่อ Star - Delta




ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0