มาทำความรู้จักกับ NTC และ PTC กันค่ะ

มาทำความรู้จักกับ NTC และ PTC กันค่ะ

9 มีนาคม 2563

เขียนโดย : ฝ่ายขายสำนักงานใหญ่


สวัสดีค่ะทุกท่าน วันนี้เรามาทำความรู้จัก NTC และ PTCกันนะคะ NTC และ PTC คือประเภทของเทอร์มิสเตอร์ โดยเทอร์มิสเตอร์มาจากคำว่า Thermo + Resistor คำว่า Thermo หมายถึงความร้อน ดังนั้นเทอร์มิสเตอร์จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวต้านทานความร้อน” (Thermal Resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิ (Temperature-sensing) ทั้งเป็นสารกึ่งตัวนำที่ทำมาจากโลหะออกไซด์ เช่น แมงกานีส, นิกเกิล, โคบอลด์, ทองแดงและยูเรเนียม ฯลฯ โดยสารเหล่านี้จะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ดังนั้นเทอร์มิสเตอร์เตอร์จึงมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานตามอุณหภูมินั้นเอง

จากความไวนี้ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียง 1 องศาเซลเซียส เทอร์มิสเตอร์สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานภายในได้มากถึง 156เท่า การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทอร์มิสเตอร์จึงมีย่านการวัด (range) อุณหภูมิที่ค่อนข้างแคบเมื่อเปรียบเทียบกับเทอร์โมคัปเปิล (thermocouple) และอาร์ทีดี (RTD)

กราฟแสดงความสัมพันธ์การเปลี่ยนแปลงค่าVหรือค่าRกับอุณหภูมิ


ความหมายของแต่ละประเภทของเทอร์มิสเตอร์

1. เทอร์มิสเตอร์ที่มีสัมประสิทธิ์ความต้านทานต่ออุณหภูมิเป็นลบ หรือเทอร์มิสเตอร์แบบการเปลี่ยนแปลงแบบสัมพันธ์ผกผัน (Negative Temperature Coefficient : NTC) เป็นเทอร์มิสเตอร์ที่ความต้านทานลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงมาก เทอร์มิสเตอร์แบบนี้จึงเหมาะกับงานที่ต้องการวัดความแตกต่างของอุณหภูมิที่ชัดเจน


2. เทอร์มิสเตอร์ที่มีสัมประสิทธิ์ความต้านทานต่ออุณหภูมิเป็นบวก หรือเทอร์มิสเตอร์แบบการเปลี่ยนแปลงแบบสัมพันธ์ตรง (Positive Temperature Coefficient : PTC) เป็นเทอร์มิสเตอร์ที่ความต้านทานเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยค่าความต้านทานของ (PTC) จะมีค่าต่ำที่อุณหภูมิต่ำ แต่จะเปลี่ยนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากเมื่ออุณหภูมิถึงจุด ๆ หนึ่ง (PTC) บางชนิดมีการเติมสารเจือปนลงไปเพื่อให้มีความเป็นเชิงเส้น และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบเรียบขึ้นได้ (PTC) ส่วนมากจะนำไปตัดต่อวงจรให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยหลักการที่ขณะที่กระแสปกติอุณหภูมิที่ (PTC) จะต่ำ แต่เมื่อกระแสสูงเกินกำหนดความต้านของ (PTC) จะสูงมากจนเปรียบเสมือนการตัดวงจรออกไป เมื่อ (PTC) จะเย็นลงและความต้านทานก็จะลดลงทำให้วงจรกลับมาต่ออีกครั้ง


กราฟแสดงความสัมพันธ์ความต้านทานและอุณหภูมิของPTCและNTC


ในปัจจุบันทั้ง NTCและPTC ถูกนำมาใช้เป็นSensor ของเครื่องควบคุมอุณหภูมิค่ะ






ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0