การวัดทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า ของเครื่องกลไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

การวัดทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า ของเครื่องกลไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

3 June 2015

เขียนโดย : Product Manager



สวัสดีครับทุกๆท่าน วันนี้ผมจะมาแนะนำเรื่อง “การทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า” ซึ่งเป็นการตรวจสอบการเสื่อมของฉนวน เพื่อประเมินความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆในขณะใช้งาน หรือช่วยในการประเมินคุณภาพของการซ่อม จึงนับว่าเป็นการป้องกันการเกิดไฟฟ้าดูด, เพิ่มความปลอดภัยของบุคคลผู้ปฏิบัติงาน, ลดหรือจำกัดการหยุดการทำงาน หรือป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน

เครื่องมือที่ใช้วัดทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า เรียกว่า “Insulation Tester”

หลักกการทำงานของ Insulation Tester คือ เครื่องจะปล่อยแรงดันไฟฟ้าไปตามสายขั้วบวก ที่จับอยู่กับฉนวนหรือสายดิน(Ground)ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำการทดสอบ และรับค่ากระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลผ่านฉนวนเข้าสู่ตัวนำ ทางสายขั้วลบที่ต่ออยู่กับขั้วตัวนำของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการวัดค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า ต้องปลดวงจรของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำการทดสอบ ออกจากวงจรระบบไฟฟ้าหลักก่อนทุกครั้ง และห้ามจับอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆในขณะ Insulation Tester ทำงาน

การต่อสายเพื่อวัดทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1.ต่อสายขั้วบวกกับฉนวนหรือผิวของอุปกรณ์ไฟฟ้า และต่อสายขั้วลบกับขั้วตัวนำไฟฟ้า

2.ต่อสายขั้วบวกกับสายดิน(Ground) ของอุปกรณ์ไฟฟ้า และต่อสายขั้วลบกับขั้วตัวนำไฟฟ้า

- กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบ 3 เฟส ให้ต่อสายระหว่างขั้วของแต่ละเฟส เช่นต่อสายขั้วบวกกับขั้วตัวนำเฟส 1 และต่อสายขั้วลบกับขั้วตัวนำเฟส 2 หรือต่อสายขั้วบวกกับขั้วตัวนำเฟส 2 และต่อสายขั้วลบกับขั้วตัวนำเฟส 3

แรงดันในการวัดทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า สามารถเลือกใช้ได้ตามตารางต่อไปนี้

เทคนิคในการวัดทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีดังต่อไปนี้

1. Spot Reading / Short Time Reading Test

การทดสอบอ่านแบบค่าลงเป็นจุด หรือการทดสอบอ่านแบบค่าเวลาสั้นวิธีนี้ทำการจ่ายแรงดันทดสอบคงที่ในระยะเวลาหนึ่ง แล้วทำการอ่านและบันทึกค่า โดยปกติจะใช้เวลาเริ่มทำการทดสอบ จนถึง 60 วินาที ค่าความต้านทานแต่ละจุดจะเพิ่มค่าขึ้นตามเวลา บันทึกค่าความต้านทานสุดท้าย เมื่อสิ้นสุดวินาทีที่ 60 ทำการวัดและบันทึกเป็นประจำแล้ววิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกได้

การทดสอบอ่านค่าลงเป็นจุด จะต้องให้สอดคล้องกับผลบันทึกที่เป็นจากผลในอดีต ทั้งนี้เพื่อหาผลจากข้อสรุปนำมาใช้เป็นประโยชน์ การทดสอบดังกล่าวเหมือนกับการทดสอบด้วยแรงดันไฟฟ้าภายในเวลาเดียวกัน ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมสภาวะอุณหภูมิและความชื้น นำค่าความต้านทานของฉนวนไฟฟ้ามาพล็อตเป็นกราฟประวัติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน


2.Dielectric Absorption Ratio

อัตราส่วนการซึมซับไดอิเล็กตริก เรียกย่อๆว่า DAR เป็นอัตราส่วนของสองค่าเวลาความต้านทานฉนวนที่ 60 วินาทีกับ 30 วินาที (60/30)


3.Polarization Index

ดัชนีโพลาไรเซชัน หรือดัชนีการจัดเรียงขั้วเรียกค่าย่อ ๆ ว่า PI ค่านี้เป็นเป็นอัตราส่วนสองค่าเวลาความต้านทานฉนวนที่ 10 นาทีกับ 1 นาที (อัตราส่วน10/1 - นาที)

ข้อพิจารณาในการทดสอบค่า DAR และค่า PI

4.Step Voltage Test method

วิธีทดสอบแรงดันแบบเป็นขั้นลำดับ จำเป็นต้องใช้แรงดันหลายระดับจากเครื่อง Insulation Tester จ่ายแรงดันในสัดส่วน 1 ถึง 5 เช่น 500V ถึง 2,500 V ในแต่ละระดับแรงดันใช้เวลาทดสอบ 60 วินาที แล้วสังเกตดู หากป้อนแรงดันสูงกว่า ปรากฏว่าค่าความต้านทานฉนวนลดลง เป็นสิ่งเตือนว่าฉนวนเริ่มมีปัญหา

จากที่กล่าวมาทั้งหมด 4 เทคนิค การวัดทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้านั้น ผู้ใช้งานสามารถเลือกเทคนิคใดก็ได้ในการวัดทดสอบ ขึ้นอยู่กับของอุปกรณ์ที่จะวัดทดสอบ ความสะดวกในการปฏิบัติ และเครื่อง Insulation Tester ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งาน ในปัจจุบันมีเครื่อง Insulation Tester ที่สามารถวัดทดสอบและคำนวณค่า ตามเทคนิคแบบ DAR , PI หรือ Step Voltage ได้เลย เช่น Insulation Tester ของ Chauvin Arnoux รุ่น CA-6505 , CA-6547 หรือ CA-6549 เป็นต้น


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.thailandindustry.com





Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0