Proximity sensor ตรวจจับวัตถุเล็กใหญ่ได้ระยะทางเท่ากันไหมนะ ?

Proximity sensor ตรวจจับวัตถุเล็กใหญ่ได้ระยะทางเท่ากันไหมนะ ?

8 March 2018


เขียนโดย : ปัญญา พละกลาง

Product Manager CARLO GAVAZZI




สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมมี Tip เกี่ยวกับระยะการตรวจจับของ Inductive Proximity Sensor มาฝากกันครับ นับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน หลายท่านรู้จักการใช้งาน Inductive Proximity Sensor แต่มาในยุคประเทศไทย 4.0 นี้ จะมีสักเท่าใดที่เข้าใจการทำงาน การใช้งานมันอย่างแท้จริง คราวนี้เราจะมาคุยกันว่าทำไมวัตถุเล็กหรือ ใหญ่ ถึงมีระยะการตรวจจับได้ใกล้หรือไกลไม่เท่ากัน

Inductive Proximity Sensor คือ อุปกรณ์ Sensor ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการตรวจจับวัตถุ โดยที่ไม่มีการสัมผัสกับวัตถุ ซึ่งอาศัยหลักการการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบนวัตถุที่ตรวจจับแต่วัตถุที่จะตรวจจับต้องเป็นวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น เช่น เหล็ก, อลูมิเนียม, สแตนเลส, ทองเหลือง เป็นต้น


หลักการทำงานของ Inductive Proximity นี้ ก็จะอาศัยหลักการของ วงจรออสซิเลทกำเนิดสัญญาณส่งไปให้ขดลวดซึ่งพันอยู่บนแกนเฟอไรท์ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณด้านหน้าตัว Sensor ซึ่งเรียกบริเวณนี้ว่าส่วนตรวจจับ เมื่อมีโลหะมาตัดกับเส้นแรงแม่เหล็ก (Coil and Ferrite Core) จะทำให้เอาต์พุตของวงจรออสซิเลทมีขนาดลดลง โดยหากโลหะใกล้เซนเซอร์มาก ขนาดของสัญญาณที่ออสซิเลทก็ยิ่งมีขนาดลดลง ซึ่งขนาดของสัญญาณนี้จะไปกำหนดสภาวะวงจรในส่วนเอาต์พุต

ปัจจัยที่มีผลต่อระยะการตรวจจับ

1. ขนาดและรูปร่างของตัว Sensor

2. ชนิดของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์

3. ชนิดของโลหะเป้าหมาย (Type of Target)

4. ขนาดของวัตถุเป้าหมาย (Size of Target)


จากการอธิบายข้างต้น ได้รู้แล้วว่า Inductive Proximity Sensor นั้นมี 4 ปัจจัยที่ทำให้ระยะการตรวจจับของมันสั้นลง ในที่นี้เราจะพูดเฉพาะข้อที่ 4 เท่านั้นครับ

ยกตัวอย่างเช่น
รุ่น ICB30S3015PO ยี่ห้อ CARLO GAVAZZI ซึ่งมีระยะตรวจจับอยู่ที่ 15 มม. นั้นหมายความว่ามันจะจับวัตถุได้เต็ม 15 มม. ก็ต่อเมื่อวัตถุนั้นสามารถดูดกลืนสนามแม่เหล็ก (Coil and Ferrite Core) ได้หมด วัตถุจะต้องเต็มเท่าขนาดของตัวเซนเซอร์หรือมากกว่านั่นเองครับ แต่ถ้าขนาดไม่เต็มระยะการตรวจจับจะสั้นลงเรื่อยๆ ตามรูป ถึงแม้ว่า ในข้อมูลทางเทคนิคจะระบุไว้ก็ตาม แต่บางรุ่นบางยี่ห้อก็รู้ถึงปัจจัยข้อที่ 4 ดี จึงออกแบบมาให้จับวัตถุได้ทุกชนิดให้เท่ากันได้ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ แต่ก็จะมาด้วยราคาที่แพงขึ้นตามความสามารถของเซนเซอร์นั้นๆ ครับ





Subscribe

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

Signin

Register

Forgot password

Products to Compare

0