ข้อแตกต่าง Thermocouple แบบ Ground และ Unground

ข้อแตกต่าง Thermocouple แบบ Ground และ Unground

24 ตุลาคม 2558


เขียนโดย : แมนรัตน์ รุ่งวัฒนโยธิน

ผู้จัดการฝ่ายขาย



สวัสดีครับ ทุกท่าน หลายท่านอาจเคยใช้หรือเคยได้ยิน ว่า
Thermocouple มีแบบ Ground, Unground มันคืออะไรกัน และมีทั้งหมดกี่แบบกันแน่ วันนี้มาเล่าให้ฟังครับ

การประกอบหัวเทอร์มอคัปเปิลเข้ากับท่อ หรือ Metal Sheath จะสามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ

1. แบบเปลือย (Exposed Junction) ตามรูปที่ 1

ข้อดี : ให้ผลการวัดที่ไวที่สุด (Minimum Response Time) เพราะจุดต่อสำหรับวัดสัมผัสกับอากาศหรือของเหลวที่ต้องการวัดโดยตรง
ข้อเสีย
: ชำรุดเสียหายง่ายและอายุการใช้งานสั้น ไม่เหมาะสมสำหรับงานความความดันสูงหรือ Fluid
ที่มีการกลั่นตัว

2. แบบ Grounded Junction ตามรูปที่ 2

ข้อดี: สายทั้งคู่ของเทอร์มอคัปเปิลที่เชื่อมติดกันจะถูกเชื่อมต่อลงบนส่วนปลายท่อโลหะของ Metal Sheath อีกทีหนึ่ง สามารถใช้ได้กับอากาศหรือของเหลวที่เป็นสารกัดกร่อนให้ผลการตอบสนองต่ออุณหภูมิไวกว่าแบบ Ungrounded Junction ข้อเสีย : ถ้ามีกระแสไฟฟ้ารั่วจากอุปกรณ์อื่นมาที่ Metal Sheath จะทำให้ค่าวัดอุณหภูมิผิดพลาดได้

3. แบบ Ungrounded Junction ตามรูปที่ 3

ข้อดี : ใช้ได้กับ Fluid ที่เป็นสารกัดกร่อน มีอายุการใช้งานยืนยาวที่สุด ข้อเสีย : ให้ผลการวัดช้ากว่าประเภทอื่น เหมาะกับงานที่อุณหภูมิไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป ในอุตสาหกรรมใช้แบบนี้เกือบทั้งหมด สำหรับ Metal Sheath ที่เป็นCeramic นั้นมักจะใช้ในกรณีที่อุณหภูมิใช้งานสูง เช่น 800 C ขึ้นไป หรือในบรรยากาศที่มีการกัดกร่อนสูง

ได้ทราบข้อดีข้อเสียกันแล้ว ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวกครับ ทาง TIC เราสามารถผลิตได้ทั้ง 3 แบบ แต่ถ้าไม่ระบุอะไร เราก็จะทำเป็นแบบ Ungrounded ยอดฮิตที่สุดในอุตสาหกรรมแล้วครับ





ลงทะเบียนรับข่าวสาร

กรอกอีเมลเพื่อรับข่าวสาร โปรโมชั่น และกิจกรรมต่างๆ ของเราได้ที่นี่

fb twitter youtube youtube shopee lazada tiktok blockdit

เข้าสู่ระบบ

สมัครสมาชิก

ลืมรหัสผ่าน

สินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบ

0